ข้อควรรู้ ตัวย่อบนผลิตภัณฑ์

ข้อควรรู้ ตัวย่อบนผลิตภัณฑ์

ปัจจุบันบนฉลากผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ เราจะทราบถึง ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ข้อมูลโภชนาการ หรือ ส่วนประกอบต่างๆของผลิตภัณฑ์ แต่อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญและเราไม่ควรมองข้ามคือ อักษรย่อบนผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่บริโภค ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร MFG / MFD ,EXP / EXD ,BB / BBE / Reg. No. ตัวย่อเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากเพราะตัวอักษร / ตัวเลขนี้บอกถึงวันหมดอายุ วันผลิต ว่าเราสามารถรับประทานหรือเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นี้ได้นานเพียงใด

ตัวย่อบนฉลากผลิตภัณฑ์

MFG / MFD หมายถึง วันที่ผลิต ย่อมาจาก (Manufacturing date / Manufactured Date)
EXP / EXD หมายถึง วันหมดอายุ ย่อมาจาก (Expiry Date / Expiration Date)
BB / BBE หมายถึง ควรบริโภคก่อนวันที่  ย่อมาจาก (Best Before / Best Before End)
Reg. No. หมายถึง เลขที่ทะเบียนยา (ย่อมาจากคำว่า registered number) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
เป็นผู้ออกให้ ตัวอักษร A B C บอกว่าเป็นยาสำเร็จรูปแผนปัจจุบัน
  • A คือ ยาสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ
  • B คือ ยาสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แล้วมาแบ่งบรรจุภายในประเทศ
  • C คือ ยาสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ (ไม่มีการแบ่งบรรจุภายหลัง)
ส่วนตัวเลขที่ใช้นำหน้าอักษร A B C ซึ่งมี 1 และ 2 มีความหมายดังนี้
  • 1. คือ ยาเดี่ยว (มีตัวยาสำคัญตัวเดียว)
  • 2. คือ ยาสูตรผสม (มีตัวยาสำคัญหลายตัว)
Batch. No. หมายถึง เลขที่ครั้งที่ผลิต ถ้ายามี Batch. No. เหมือนกัน แสดงว่า ผลิตออกมาครั้งเดียวกัน
L & C. No หมายถึง เลขที่ครั้งที่ผลิตและควบคุมคุณภาพ. ย่อมาจาก( lot and control number ) มีความหมายคล้ายกับ Batch. No.



ซึ่งข้อมูลของผลิตภัณฑ์นี้ จะแสดงเป็นลักษณะตัวย่อไว้บนบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น ฝาขวด ก้นขวด หรือข้างขวด

เรามารู้ความหมายของ “วันหมดอายุ / ควรบริโภคก่อน” กันก่อน ว่า 2 คำนี้มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร ?
 
“วันหมดอายุ” ตัวย่อ EXP หมายถึง เป็นวันที่บ่งบอกถึงวันที่อาหารหมดอายุ หลังจากวันนั้น ไม่ควรเอาอาหารนั้นมากิน เพราะหลังจากวันนั้นเป็นต้นไป อาหารก็จะเริ่มบูดหรือเน่าเสีย ฉะนั้นจึงไม่ควรที่จะรับประทานอาหารหลังจากวันที่กำหนดว่าหมดอายุแล้ว >> ควรทิ้ง <<
 
“ควรบริโภคก่อน” ตัวย่อ BBE หมายถึง เป็นวันที่บ่งบอกว่าอาหารนั้นยังคงมีคุณภาพและมีรสชาติที่ดีเหมือนเดิมจนถึงวันที่ระบุไว้ ยังคงคุณค่าทางอาหารครบถ้วน แต่หลังจากวันนั้นไปรสชาติ คุณภาพและคุณค่าทางอาหารจะลดลง ยังสามารถบริโภคได้โดยไม่มีอันตราย แต่อาจไม่ได้ประโยชน์จากอาหารนั้นตามที่ระบุไว้บนฉลากอาหารได้

โดยทั่วไปผู้ผลิตมักจะเลือกใช้คำว่า “ควรบริโภคก่อน” และจะกำหนดวันล่วงหน้าไว้ ระยะหนึ่งก่อนที่อาหารนั้นๆ จะหมดอายุหรือเสีย ดังนั้น วันที่ที่ระบุหลังคำว่า ควรบริโภคก่อน คือ คำแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานอาหารนั้น เพื่อความสด รสชาติ และ สารอาหารในอาหารนั้นๆ ก่อนที่มันจะเปลี่ยนแปลง หรือ ลดคุณภาพลง



จากข้อมูลข้างต้น ตัวย่อบนผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้นมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป เช่น วัน/เดือน/ปีผลิต , วัน/เดือน/ปีหมดอายุ ตลอดจนถึง ควรบริโภคใช้ก่อนวันที่เท่าไร ข้อมูลเหล่านี้แสดงไว้เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้สินค้าได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ หากพบว่าสินค้ามีระยะเวลาที่ผิดปกติหรือมีความเสี่ยง จะได้ป้องกันและหลีกเลี่ยงการใช้งานหรือรับประทานได้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคนั่นเอง

ติดตามข้อมูลข่าวสาร เครื่องพิมพ์วัน ได้ที่
www.iMark.co.th
- Line Official : @imark ( มี @ นำหน้า แอดแล้วทักมาได้เลยจ้า )
- Youtube : https://youtu.be/rQ0GnI0HOZs
- Instagram : www.instagram.com/imark.co.th/
- Call-02-810-0496,09-4224-6365
#iMark #เครื่องพิมพ์วันที่ #เครื่องพิมพ์วันแบบสายพาน #เครื่องพิมพ์วันแบบมือลาก #เครื่องพิมพ์วันสำหรับSME

 

Share this post :